Welcome to My blog นางสาว สุตาภัทร ภานุมาศ ม.4/4

Welcome to My blog นางสาว สุตาภัทร ภานุมาศ ม.4/4 เลขที่ 42

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

    กฎหมายที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน

                                             
  • กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องบุคคล ทรัพย์สิน นิติกรรม สัญญา ละเมิด ครอบครัว และมรดก ที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย
  • กฎหมายอาญา เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความผิดและโทษ โดยกำหนดผู้กระทำผิดจะได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด กฎหมายอาญาจึงมีความสำคัญช่วยให้ประชาชนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและปลอดภัย
  • กฎหมายเกี่ยวกับบุคคล บุคคล หมายถึง สิ่งที่กฎหมายกำหนดให้มีสิทธิหน้าที่ได้ตามกฎหมาย สภาพบุคคลเริ่มต้นตั้งแต่แรกคลอดเป็น ทารกและสิ้นสุดสภาพบุคคลเมื่อตายหรือสาบสูญตามคำสั่งของศาล การสาบสูญคือ การหายจากภูมิลำเนาในภาวะ ปกติเกิน 7 ปี หรือหายจากภาวะที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น เรืออับปาง ภัยพิบัติทางธรรมชาติ 3 ปี ถือว่าเป็นคนสาบสูญ ได้ ในกรณีที่ผู้สาบสูญกลับมา สามารถขอร้องต่อศาลให้ถอนคำสั่งสาบสูญได้ บุคคลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. บุคคลธรรมดา    หมายถึง บุคคลที่มีความสามารถ สามารถทำนิติกรรมได้ตามที่กฎหมายกำหนด

2. นิติบุคคล  หมายถึง หมู่คนหรือสิ่งที่กฎหมายรับรองสภาพอย่างบุคคลธรรมดา และมีสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดชอบในนามของกิจการ เช่น กระทรวง ทบวง กรม บริษัท สมาคม มูลนิธิ และวัด เป็นต้น ทรัพย์และทรัพย์สิน


นิติกรรม 

นิติกรรม คือการแสดงเจตนาผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมาย เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับสิทธิ์

หลักการทำนิติกรรม 
        1. มีการแสดงเจตนาของบุคคล โดยการพูด เขียน หรือการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
        2. การกระทำนั้นต้องทำด้วยความสมัครใจ
        3. มีเจตนาที่จะให้เกิดผลตามกฎหมาย

นิติกรรมที่เป็นโมฆะและโมฆียะ
  1. นิติกรรมที่เป็นโมฆะ คือ นิติกรรมที่ไม่ได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ตั้งแต่แรก ซึ่งไม่เกิดผลทางกฎหมาย
  2. นิติกรรมที่เป็นโมฆียะ คือ นิติกรรมที่มีผลสมบูรณ์จนกว่าจะถูกบอกล้าง เช่น นิติกรรมที่ผู้เยาว์กระทำโดยไม่ได้ รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม เมื่อมีการบอกล้างแล้ว โมฆียะกรรมจะกลายเป็นโมฆะ
สัญญาต่าง ๆ และประเภทของสัญญา 
สัญญาซื้อขายธรรมดา แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 
1. คำมั่นว่าจะซื้อหรือจะขาย คือ มีการให้คำมั่นเสนอว่าจะซื้อหรือจะขาย
2. สัญญาจะซื้อจะขาย คือ สัญญาตกลงกันในสาระสำคัญของสัญญาจะซื้อจะขาย
3. สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด คือ เป็นสัญญาที่ตกลงกันตามสาระสำคัญของสัญญากันเรียบร้อยแล้ว

ประกอบด้วยบุคคล 4 ฝ่าย คือ
  • ผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สิน หรือผู้มีอำนาจขายทรัพย์สินได้
  • ผู้ทอดตลาด
  • ผู้สู้ราคา
  • ผู้ซื้อ
สัญญาเช่าทรัพย์ เช่าซื้อ แบ่งออกเป็น
  1. สัญญาเช่าทรัพย์ ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นตัวหนังสือ แต่ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลัก ฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ
  2. สัญญาเช่าซื้อ คือสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์นั้นให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินหรือจะให้ทรัพย์นั้นตก เป็นสิทธิแก่ผู้เช่าซื้อ โดยมีเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว
กฎหมายเกี่ยวกับครอบครัว 
การหมั้น คือ การทำสัญญาระหว่างชายหญิงว่าจะสมรสกัน จะทำได้เมื่อชายและหญิงอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ถ้าชาย และหญิงเป็นผู้เยาว์ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาหรือผู้ปกครอง การสมรส การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์หากมีอายุต่ำกว่านี้ต้องศาลอนุญาต

ทรัพย์สินของสามีและภรรยา แบ่งเป็น 
1. สินส่วนตัว คือ ทรัพย์สินที่สามีหรือภรรยามีก่อนสมรส
2. สินสมรส คือ ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างการสมรส

การสิ้นสุดการสมรส 
1. ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ
2. คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่กรรม
3. การหย่า

กฎหมายเรื่องมรดก มรดก คือ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่าง ๆ ของผู้ตายหรือเจ้าของมรดกซึ่งเมื่อเจ้าของมรดก ถึงแก่ความตายมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีที่ตาย

ทายาท คือ ผู้มีสิทธิได้รับมรดก 2 ประเภท 
1. ทายาทโดยธรรม คู่สมรสและญาติสนิท
2. ทายาทตามพินัยกรรม ผู้มีสิทธิ์ได้รับมรดกตามพินัยกรรมระบุไว้

พินัยกรรม คือ เอกสารที่เจ้าของมรดกแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์

กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน 
1. กฎหมายรัฐธรรมนูญ 
เป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นการกำหนดสิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ของบุคคล
  • สิทธิ หมายถึง ประโยชน์ซึ่งกฎหมายรับรอง คุ้มครองให้กับบุคคล เช่น สิทธิทางการเมือง สิทธิในทรัพย์สิน
  • เสรีภาพ หมายถึง การกระทำของบุคคลที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย เช่น เสรีภาพในร่างกาย เสรีภาพในการพูด การพิมพ์ การเขียน การนับถือศาสนา หน้าที่ คือ สิ่งที่บุคคลจะต้องกระทำหรืองดเว้นกระทำ ในฐานะสมาชิกของรัฐ เช่น การเสียภาษีอากร การป้องกันประเทศ
2. กฎหมายเลือกตั้ง 
เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมการจัดและดำเนินการเลือกตั้งให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและยุติธรรม

3. กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร์
  • เมื่อมีคนเกิดต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน
  • เมื่อมีคนตายต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 24 ชม.
  • เมื่อย้ายที่อยู่อาศัยต้องแจ้งภายใน 15 วัน
4. กฎหมายเกี่ยวกับบัตรประชาชน
  • บุคคลที่มีสัญชาติไทยอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไปแต่ไม่เกิน 70 ปีต้องขอมีบัตรประชาชน
  • การเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล ต้องขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วัน
  • บัตรสูญหายต้องขอเปลี่ยนใหม่ ภายใน 60 วัน
  • บุคคลที่ไม่ต้องมีบัตรประชาชน ได้แก่ พระภิกษุ นักโทษ และบุคคลที่มีอายุเกิน 70ปี ขึ้นไป
5. กฎหมายเกี่ยวกับการรับราชการทหาร
  • ชายไทยที่มีสัญชาติไทย อายุย่างเข้า 18 ปีบริบูรณ์ ให้ไปแสดงตัวเพื่อลงบัญชีพลทหารกองเกินภายในเขตภูมิลำเนาของตน
  • เมื่ออายุย่างเข้า 21 ปี ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกและต้องทำการตรวจเลือกเพื่อเข้าเป็นทหารกอง ประจำการตามกำหนดนัด บุคคลที่ไม่ต้องเป็นทหารประจำการ ได้แก่ พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ คนพิการทุพพลภาพ บุคคลที่ขาดความสามารถบางประการที่ไม่อาจเป็นทหารได้
6. กฎหมายเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดของชุมชน และสิ่งแวดล้อม
  • พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เช่น การสร้าง ดัดแปลง ต่อเติม รื้อถอน ต้องขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
  • พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2518
  • พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2522
                                       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น